จากบทความมอนเตสซอรี่ตอนที่ 1-2 ผู้ขียนได้กล่าวถึง แนวทางการจัดการเรียนการสอน รูปแบบการสอน 3 ขั้นตอน รวมถึงการประเมินการสอนไปแล้วนั้น วันนี้ครูแหม่มได้เขียนตอนที่ 3 ซึ่งจะเน้นเป็นกิจกรรมง่าย ๆ ช่วยเด็ก ๆ ให้ผ่อนคลาย สนุกสนานในกิจกรรม พร้อมทั้งเสริมทักษะทั้ง 4 ด้าน ที่ผู้ปกครองและครูสามารถประยุกต์หรือปรับใช้สื่อการจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่ง่าย ๆ ภายในบ้าน สามารถจัดหาวัสดุอุปกรณ์ มาทำสื่อการสอนเองได้ เพราะว่าสื่อการสอนของมอนเตสซอรี่นั้นมีราคาค่อนข้างสูง จึงแนะนำการทำสื่อของมอนเตสซอรี่ที่สามารถทำใช้เองได้ในราคาไม่แพงอีกด้วย
สื่อมอนเตสซอรี่นั้นได้รับการออกแบบมาเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้อย่างอิสระ โดยจะเน้นการจัดสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็กให้คล้ายกับการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งเด็กจะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นผ่านการลงมือทำด้วยตัวเด็กเอง
ซึ่งการฝึกประสบการณ์การเรียนรู้ภายในบ้านของเด็กจะมีความต่อเนื่องและมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเด็กยังไม่ได้เรียนรู้ที่จะแยกประสบการณ์ของพวกเขาแต่พวกเขาจะมีประสบการณ์ชีวิตที่ครอบคลุมครบวงจร
กิจกรรมกิจวัตรประจำวัน
ในแต่ละวันของเด็ก ๆ ก็ถือเป็นสื่อการสอนเพราะจากการที่เด็กได้ทำงานประจำวันให้เสร็จสมบูรณ์ โดยตัวเด็กเองก็จะสนุกสนานในการทำกิจกรรมเหล่านี้ ยกตัวอย่างงานในชีวิตประจำวัน เช่น การเท การตัก การรดน้ำต้นไม้ การรีดผ้า การเปิดฝาขวดน้ำ การซักเสื้อผ้า การทากาว การติดกระดาษ การกวาด การเช็ดและการถู ซึ่งงานเหล่านี้จะช่วยให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้จนมีความชำนาญของทักษะการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จากกิจวัตรประจำวันรอบ ๆ ตัวเด็กได้เป็นอย่างดี
กิจกรรมแบบภายในห้องครัว
เด็กสามารถช่วยเตรียมอาหาร เช่น การล้างผัก การผสมส่วนผสมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเทของเหลวและสิ่งของต่าง ๆ อย่าง น้ำตาล เกลือ ซีเรียล ถั่วแห้งหรือถั่ว รวมถึงการหั่น การปอก การตัก การช้อน โดยการให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมง่าย ๆ เหล่านี้อย่างอิสระกับเด็ก เด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะชีวิตและเหนือสิ่งอื่นใดคือ อิสระ ความมั่นใจ เด็กจะเห็นคุณค่าในตัวเอง เมื่อเค้าได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ตัวเด็กเองเป็นศูนย์กลาง
ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากกิจกรรม
- เด็กเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบต่องานบ้าน
- ทักษะเหล่านี้เมื่อมีการทำซ้ำ ๆ จะช่วยให้เด็กได้เกิดความชำนาญและการสร้างสมาธิที่ดี
- เด็กจะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและรู้สึกดีที่กับการได้มีส่วนร่วม
- ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดี
- ฝึกทักษะการใช้ภาษาในการสื่อสาร
- มีความเป็นอิสระรู้จักการพึ่งพาตนเอง
วันนี้ทีมงานจึงแนะนำการสร้าง สื่อมอนเตสซอรี่ให้ผู้ปกครองลองนำไปทดลองใช้กับเด็ก ๆ ที่บ้านดูนะคะ
กลุ่มชีวิตประจำวัน
1. เสื้อที่ไม่ใช้แล้ว มีกระดุมเม็ดขนาดพอดีมือ
2. กางเกงแบบมีซิบ แบบตะขอเกี่ยว
3. รองเท้าแบบร้อยเชือก
1. ติดกระดุม สาธิตการติดกระดุมโดยบอกเด็กว่าถ้าทำถูกต้องขอบชายเสื้อจะเสมอกัน
2. รูดซิบ สาธิตการรูดซิบขึ้นและลง ถ้าเด็กรูดซิบสุดแนวซิบจะเสมอกัน ถ้ารูดลงซิบจะแยกออกจากกัน
3. ติดตะขอ สาธิตการคล้องตะขออีกข้างไปยังห่วงอีกข้าง
4. ร้อยเชือก สาธิตการผูกปมแล้วผูกเป็นโบว์
1. การสัมผัสวัสดุต่าง ๆ สำหรับการผูกติด
1. ภาชนะใส่ของ 3 ใบ
2. เมล็ดถั่วแดง หรือหินก้อนเล็ก ๆ
1. วางผ้าปูบนโต๊ะ นำภาชนะที่ใส่ถั่ววางไว้ตรงกลางผ้าและภาชนะเปล่าอีก 2 ใบวางเรียงข้าง ๆ
2. ให้เด็กใช้มือข้างที่ถนัดกำเมล็ดถั่วจากภาชนะที่ 1 ไปใส่ภาชนะที่ 2 (เริ่มจากซ้ายไปขวา)
3. เมื่อถั่วเต็มภาชนะที่ 2 ให้กำไปใส่ในภาชนะที่ 3 และเมื่อเต็มแล้วกำถั่วกลับไปภาชนะที่ 2 และ 1
4. เมื่อเสร็จให้เด็กเก็บภาชนะ และผ้าปูให้เรียบร้อย
1. การสัมผัสวัสดุต่าง ๆ
2. เสียงของวัสดุต่าง ๆ ที่ตกลงกระทบภาชนะ
1. เหยือกใส่น้ำ
2. แก้วน้ำ
3. น้ำเปล่าผสมสีผสมอาหารอ่อน ๆ
4. ฟองน้ำ
1. นำถาดที่วางอุปกรณ์พร้อมแล้ว (เหยือกที่ใส่น้ำแล้วอยู่ทางซ้ายมือ แก้ว 1 ใบ วางอยู่ขวามือ ฟองน้ำ )
2. เด็กเทน้ำใส่แก้วด้านขวามือจนเกือบเต็ม
3. เมื่อเต็มแก้วให้ถ้ามีน้ำหกในถาดให้ใช้ฟองน้ำซับน้ำที่หกในถาดให้แห้ง
4. เมื่อเทหมดสามารถเทกลับใส่เหยือกให้เด็กเล่นซ้ำไปมาได้ตามความพอใจ
1. การเท การฟังเสียงของน้ำจากการเท
1. ถ้วย 2 ใบ
2. ช้อน 1 คัน
3. ถั่ว
1. นำถาดที่วางอุปกรณ์พร้อมแล้ว (มีถ้วย 1 ใบ ใส่ถั่ว ถ้วยเปล่าใบที่ 2 วางด้านซ้ายมือ)
2. ให้เด็กใช้มือที่ถนัดจับช้อนแล้วตักถั่วในถ้วยไปใส่ถ้วยด้านซ้ายมือจนหมด
3. เมื่อตักหมดสามารถตักกลับใส่ถ้วยให้เด็กเล่นซ้ำไปมาได้ตามความพอใจ
1. เสียงของการตักถั่วลงในถ้วย
1. น้ำยาสเตคลีน
2. แปรงสำหรับขัด
3. อุปกรณ์สำหรับขัด (รองเท้า เครื่องเงิน ฯลฯ)
4. ผ้าขนหนูผืนกลาง
5. สำลีชุบน้ำ
1. นำถาดที่วางอุปกรณ์พร้อม (แปรงขัด ผ้า น้ำยา เครื่องหนัง สำลีชุบน้ำ)
2. เปิดผาน้ำยาขัด บีบน้ำจากสำลีหยดใส่รองเท้า 2-3 หยด เช็ดให้ทั่ว
3. ใช้ผ้าชุบน้ำยาแต้มบนรองเท้า ใช้แปรงขัดรองเท้าให้ทั่ว นำมาขนหนูมาขัดเงาอีกครั้งจนเป็นเงา
1. เรียนรู้เรื่องแสงเงาหากวัตถุถูกขัดจนเป็นมันเงาก็จะมีแสงสะท้อนให้เห็นได้
1. สาก
2. ครก
3. เปลือกไข่หรือถั่วเขียวซีก
4. ช้อน
5. ถ้วย 1 ใบ
6. ช้อน 1 คัน
1. นำผ้าปูบนพื้น เตรียมอุปกรณ์ในการตำ ครก สาก ถั่วเขียวซีก
2. ใส่ถั่วลงในครก ใช้สากตำให้ละเอียด
3. ใช้ช้อนตักถั่วออกจากครกใส่จาน
4. นำครกและสากไปล้างทำความสะอาดใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง
1. กลิ่นของถั่ว
2. เสียงจากการตำ
1. พรมแผ่นเล็ก 1 ผืนหรือผ้าขนหนูขนาดเล็ก
2. เข็มหมุด
3. กระดาษสีต่าง ๆ สำหรับสร้างเป็น pattern เป็นรูปทรงเรขาคณิตรูปต่าง ๆ กระดาษ A4 หรือสมุดวาดเขียน กาว (สำหรับเด็ก5-6 ขวบ อาจเป็นรูปที่มีความโค้งของเส้นที่ยากขึ้นสำหรับการปรุ เช่น ดอกไม้ ได้ตามความสามารถของเด็กหรือเด็กออกแบบภาพวาดเองก็ได้นะคะ)
1. นำพรมวางบนโต๊ะ ถ้าไม่มีใช้ผ้าขนหนูพับ 2 ทบ
2. เด็กเลือกกระดาษที่วางแบบรูปที่ต้องการ
3. สาธิตการจับเข็มหมุดให้เด็กดู จากนั้นให้เด็กใช้เข็มเจาะปรุภาพตามลายเส้นจนหมด
4. ใช้นิ้วกดแล้วค่อย ๆ ดึงกระดาษที่ปรุเสร็จแล้วออกมา นำมาติดลงบนกระดาษ A4 หรือสมุดวาดเขียน (อาจให้เด็กสะสมภาพที่เจาะปรุในสมุดวาดเขียนให้เป็นเรื่องราวได้นะคะ)
1. การเจาะ
2. การดึง
3. การปะ
4. การวาดภาพ
5. ฝึกสมาธิ
หมวดงานวิชาการ (คณิตศาสตร์)
1. บัตรตัวเลข 1-10
2. ลูกปัด, กระดุม, ฝาขวดน้ำดื่มชนิดต่าง ๆ จำนวน 55 ชิ้น (เลือกใช้อะไรก็ได้ที่หาได้สะดวกค่ะ)
1. นำบัตรตัวเลข 1-10 มาวางเรียง
2. ผู้ปกครองอาจจะถามเด็กว่าหลังหมายเลข 1 คือเลขอะไร...หลังหมายเลข 2 คือเลขอะไร.....ถามไปเรื่อย ๆ จนครบบัตรตัวเลข
3. ให้เด็กวางสิ่งที่ใช้เป็นเบี้ยวางในช่องจำนวนตัวเลขตามจำนวนบัตรตัวเลขจนครบ
4. ชี้ไปที่เบี้ยหมายเลข 1 ถามเด็ก หมายเลข 1 เบี้ยมีคู่ไหมคะ...เบี้ยหมายเลข 2 มีคู่ เลข 2 คือเลขคู่
5. ใช้คำถามถามเด็กไปจนครบถึงหมายเลข 10 จากนั้นทบทวนเด็กอีกครั้งโดยการชี้ที่ตัวเลขแล้วให้เด็กบอกว่าแต่ละจำนวนอะไรคือจำนวนคู่และคี่
1. การนับจำนวน
2. เรียนรู้จำนวนคู่
3. เรียนรู้จำนวนคี่
1. แท่งลูกปัดสี 2 ชุด
2. ผ้าสำหรับปู
1. ปูผ้าลงบนโต๊ะ วางลูกปัด 1 ชุด คละกันบนผ้า หยิบที่ปลายลวดของลูกปัดให้เด็กนับตาม หนึ่ง สอง สาม จนครบ สิบ
2. นำลูกปัดอีกชุดวางลูกปัดเรียงจำนวน 1-10 จะได้เป็นรูปสามเหลี่ยมให้เด็กนับตามอีกครั้ง
3. ให้เด็กวางลูกปัดตามเรียงจาก 1-10 ให้เป็นสามเหลี่ยมตามแบบ
1. การนับจำนวน
2. เรียนรู้เรื่องสี
3. รูปทรงเรขาคณิต
จากกิจกรรมที่ได้ยกตัวอย่างมานั้น ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่ผู้ปกครองสามารถใช้เพื่อสนับสนุนการศึกษาของมอนเตสซอรี่ภายในบ้านคือการทำความเข้าใจและเคารพการแสวงหาอิสรภาพของเด็ก และจัดสภาพแวดล้อมที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระในการใช้งาน ซึ่งทำให้เด็กมีอิสระในการเลือก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะมีอิสระที่จะทำสิ่งที่พวกเขาต้องการเมื่อใดก็ได้ตามที่พวกเขาต้องการเพราะในบางครั้งก็ต้องมีขอบเขตหรือกฎกติกาในการอยู่รวมกันกับผู้อื่น กิจกรรม มอนเตสซอรี่ จะช่วยพัฒนาเด็กในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ระบบประสาทสัมผัส, ภาษา, คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ รวมถึงทักษะที่จำเป็นต่างๆในชีวิตประจำวันที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก รวมถึงให้โอกาสที่มากพอที่จะฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ ให้กับเด็ก ผู้ปกครองสามารถทำการสังเกตการ ติดตามความก้าวหน้าของเด็กและปรับสภาพแวดล้อมตามความจำเป็นเพื่อนำเสนอโอกาสและความท้าทายใหม่ ๆให้กับเด็กโดยมุ่งเน้นผลักดันการเรียนรู้ผ่านการสำรวจและการค้นพบ